CFDA Service

บริการรับจดขอเลขทะเบียน อย. เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง อาหาร อาหารเสริม

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

เป็นหน่วยงานของรัฐในประเทศไทยที่มีหน้าที่ควบคุมและดูแลความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิภาพของอาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ และเครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยต่อการบริโภคและการใช้งาน องค์การอาหารและยายังตรวจสอบการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์เหล่านี้ และดำเนินการตรวจสอบและทดสอบเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามกฎระเบียบ นอกจากนี้ยังรับผิดชอบในการอนุมัติการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับการใช้งานสาธารณะ

รับผิดชอบการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบ และประเมินผลปริมาณพลังงาน คุณภาพ ความปลอดภัย และความสมบูรณ์ของอาหาร เวชภัณฑ์ และยา ที่ผลิต จำหน่าย และใช้ในประเทศไทย โดยสำนักงาน FDA จะตรวจสอบและประเมินคุณภาพ ความปลอดภัย และความสมบูรณ์ของอาหาร เวชภัณฑ์ และยา ตามกฎหมาย ระเบียบ และเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้

1. หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ พ.ศ. 2563

             ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีภารกิจเกี่ยวกับการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพและปลอดภัย ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลทางวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์ โดยมีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

             1) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ กฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง กฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร กฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยอาหาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

             2) พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ

             3) เฝ้าระวัง กำกับ และตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สถานประกอบการ และการโฆษณา รวมทั้งผลอันไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านสารเคมีของประเทศ และเป็นแกนกลางร่วมดำเนินการกับองค์กรระหว่างประเทศด้านสารเคมี ตลอดจนมีการติดตามหรือเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากภายในประเทศและภายนอกประเทศ

             4) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

             5) ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และคุ้มค่า รวมทั้งการร้องเรียนเพื่อปกป้องสิทธิ

ของตนได้

             6) พัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาชน

และเครือข่ายประชาคมสุขภาพ

             7) พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค และผลประโยชน์ของประเทศชาติ

             8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน หรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

2. การแบ่งส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

        สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แบ่งส่วนราชการดังนี้

             1) สำนักงานเลขานุการกรม

             2) กองควบคุมเครื่องมือแพทย์

             3) กองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย

             4) กองควบคุมวัตถุเสพติด

             5) กองด่านอาหารและยา

             6) กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร

             7) กองผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรมและการบริการ

             8) กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค

             9) กองยา

             10) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน

             11) กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น

             12) กองอาหาร

3. กฎหมาย

             1) พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 
             2) พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2522) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2528) และฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2530) 
             3) พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 
             4) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2544) และฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2551) 
             5) พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559
             6) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และแก้ไข้เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2530) และฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543) ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2545)
   ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560) และฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2562)
             7) พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 
             8) พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) และฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2550)
  
4. อนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ 
             1) The Single Convention on Narcotic Drug 1961 
             2) The Convention on Psychotropic Substance 1971 
             3) The International Code of Marketing of Breast-milk Substitute 1981 
             4) The United Nation Convention Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances 1988

5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาดำเนินการภายใต้กฎหมายทั้ง 8 ฉบับนี้ คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่ 
             1) คณะกรรมการอาหาร 
             2) คณะกรรมการยา 
             3) คณะกรรมการเครื่องสำอาง 
             4) คณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท 
             5) คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ 
             6) คณะกรรมการเครื่องมือแพทย์ 
             7) คณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย
  
             นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาด้านยา อาหารและเคมีวัตถุ เป็นกลไกประสานงานกับหน่วยงานอื่น คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่

คณะกรรมการแห่งชาติทางด้านยา คณะกรรมการแห่งชาติด้านอาหาร คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยทางด้านเคมีวัตถุ การดำเนินงานควบคุมทางด้านต่างๆ จะต้องดำเนินให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ และมติของ คณะกรรมการตามกฏหมายดังกล่าวข้างต้น และเลขาธิการฯ รองเลขาธิการฯ เจ้าหน้าที่ของกองที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เภสัชกรกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ กทม. ที่ อย. ได้มอบให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารตาม พรบ.อาหาร พ.ศ. 2522 เพื่อสามารถตรวจสอบดูแลคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด และทำหน้าที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมติของคณะกรรมการดังกล่าวข้างต้น​